เเผนการสอน เรื่องผักเเสนอร่อย



แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้

หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ผักแสนอร่อย
สาระการเรียนรู้ เรื่องราวเกี่ยวกับธรรมชาติ
สำหรับนักเรียน ระดับชั้นอนุบาล 3

บทนำ
สาระการเรียนรู้ เรื่องราวเกี่ยวกับธรรมชาติ หน่วยการเรียนรู้ ผักแสนอร่อย สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาล 3  มีทั้งหมด  3  เรื่อง  ได้แก่
        เรื่องที่ 1 ผักคืออะไร  
        เรื่องที่ 2  ประโยชน์ของผัก
        เรื่องที่ 3 ชนิดของผัก
     ชุดนี้เป็นนวัตกรรมทางการศึกษาระดับอนุบาล สาระการเรียนรู้ เรื่องราวเกี่ยวกับธรรมชาติ หน่วยการเรียนรู้ ผักแสนอร่อย เพื่อให้เด็กมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่อง ผักคืออะไร ประโยชน์ของผัก ชนิดของผัก และได้จัดกิจกรรมโดยคำนึงถึงความสอดคล้องของผู้เรียนและการเรียนรู้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เด็กได้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องผักเพิ่มมากยิ่งขึ้น
       ผู้จัดทำขอขอบคุณครูวสันต์  แปงจิตต์ ที่ได้ให้ความรู้  คำปรึกษาและคำแนะนำในการจัดทำบทเรียน เรื่อง ผักแสนอร่อย สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาล 3 ในครั้งนี้ พร้อมด้วยทุกท่านที่มีส่วนร่วมในการจัดทำและให้คำแนะนำในการตรวจสอบเนื้อหาในบทเรียน  ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทเรียน เรื่องธรรมชาติ หน่วยผักแสนอร่อย สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาล 3 ชุดนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของนักเรียน การสอนของครู เป็นเครื่องมือให้ผู้เรียนได้รู้เรื่อง ธรรมชาติ หน่วย ผักแสนอร่อย ด้วยตนเอง เป็นผู้เรียนที่พึ่งตนเองได้ มีทักษะการเรียนรู้ และสามรถนำไปในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประโยชน์
                                                                                                                                                                                              มาลัย อุ่นถิ่น
                                                                                                                      ผู้จัดทำ




สารบัญ
เรื่อง                                                                                                                                                                  หน้า
บทนำ                                                                                                                                                                     2
สารบัญ                                                                                                                                                                  3
คำชี้แจงบทเรียน                                                                                                                                                    4
วัตถุประสงค์ของบทเรียน                                                                                                                                      6
แบบทดสอบก่อนเรียน                                                                                                                                           7
1.ผักคืออะไร                                                                                                                                                       13
แบบทดสอบระหว่างเรียน เรื่อง ผักคืออะไร                                                                                                        14
2.ประโยชน์ของผัก                                                                                                                                              15
แบบทดสอบระหว่างเรียน เรื่อง ประโยชน์ของผัก                                                                                              18
3.ชนิดของผัก                                                                                                                                                       19
แบบทดสอบระหว่างเรียน เรื่อง ชนิดของผัก                                                                                                       20
แบบทดสอบหลังเรียน                                                                                                                                         21
แบบประเมินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้                                                                                                               27
สรุปและการนำไปใช้                                                                                                                                           29
เอกสารอ้างอิง                                                                                                                                                      31





คำชี้แจงบทเรียน
สาระการเรียนรู้ เรื่องราวเกี่ยวกับธรรมชาติ หน่วยการเรียนรู้ ผักแสนอร่อย ได้จัดทำขึ้นเพื่อใช้สอนนักเรียนชั้นอนุบาล 3  มีทั้งหมด  3  เรื่อง  ได้แก่
        เรื่องที่ 1 ผักคืออะไร  
        เรื่องที่ 2  ประโยชน์ของผัก
        เรื่องที่ 3 ชนิดของผัก
เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ เรื่องธรรมชาติ หน่วยการเรียนเรื่องผักแสนอร่อย และได้จัดกิจกรรมโดยคำนึงถึงความสอดคล้องของผู้เรียนและผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจเรื่องผัก ผู้เรียนสามารถศึกษาเนื้อหาและทำแบบทดสอบหรือแบบฝึกหัดได้ด้วยตนเองตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ ผู้เรียนจะสามารถรับรู้ได้ด้วยตนเองตามความสามารถของแต่ละบุคคล    โดยมีกระบวนการดังนี้
1.  ตอบแบบทดสอบก่อนเรียน ตามความเข้าใจของตนเองไปก่อน  แม้ตอบผิดไปบ้าง ก็ไม่เป็นไร  เมื่อนักเรียนศึกษาบทเรียนจนจบทุกตอนแล้ว จะสามารถตอบคำถาม ได้ถูกต้องในขั้นตอนสุดท้าย
2.  ศึกษาเนื้อหา โดยบทเรียนนี้เสนอเนื้อเรื่องเป็นส่วนย่อย ๆ  เป็นกรอบต่อเนื่องกันไป
3.  ในทุกกรอบจะมีแบบฝึกหัดและแบบทดสอบระหว่างเรียน  ทดสอบความรู้ความเข้าใจ  เพื่อทดสอบความเข้าใจของนักเรียน
4. เมื่อทำแบบฝึกหัดและแบบทดสอบระหว่างเรียนในแต่ละเรื่องเสร็จแล้ว  ครูก็จะเฉลยแบบฝึกหัดในห้อง
5.  เมื่อศึกษาจบทุกเรื่องแล้วให้ทำแบบทดสอบหลังเรียน  เพื่อประเมินความก้าวหน้าทางการเรียนของตนเอง
โดยบทเรียนนี้จะประกอบด้วย
    1. แบบทดสอบก่อนเรียน จำนวน 10 ข้อ
    2. เนื้อหาที่ต้องศึกษา
    3. แบบทดสอบระหว่างเรียน
    4.  แบบทดสอบหลังเรียน จำนวน 10 ข้อ



 วัตถุประสงค์ของบทเรียน
1. เด็กสามารถบอกชื่อผักต่างๆได้
2. เด็กสามารถบอกรูปร่างลักษณะของผักแต่ละชนิดได้
3. เด็กสามารถบอกส่วนประกอบของผักได้
4. เด็กสามารถบอกรสชาติของผักได้
5. เด็กสามารถบอกประโยชน์ของผักได้
6.เพื่อให้เด็กรู้จักการเพราะปลูกผักเบื้องต้น






 แบบทดสอบก่อนเรียน
คำชี้แจง ให้นักเรียน  รูปภาพให้ถูกต้อง
1.ภาพใดต่อไปนี้จัดอยู่ในหมวดของผัก













2.ข้อใดต่อไปนี้จัดอยู่ในหมวดเดียวกันทั้งหมด


















3.ภาพใดต่อไปนี้คือภาพมะนาว





4.ภาพใดต่อไปนี้คือ แครอท



















5.รับประทานอาหารตามข้อใดทำให้ร่างกายแข็งแรง




















6.ภาพใดต่อไปนี้คือ ผักชี


















7.ข้อใดคือภาพของ cucumber



















8.ข้อกล่าวถูกต้อง
1.ผักช่วยให้ร่างกายแข็งแรง
 2.กินผักในปริมาณมากๆไม่ดีต่อร่างกาย
3.กินผักทำให้ขับถ่ายยาก

9.ข้อใดคือภาพของ tomato




















10.อาหารประเภทใดไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย






















      เฉลย
1    1.         3
2    2.         3
3    3.         2
4    4.         3
      5.      3
      6.      3
      7.      1
     8.     1
     9.     2
    10.    2



เรื่องที่  1  ผักคืออะไร


     ผัก คือ พืชที่มนุษย์นำส่วนใดส่วนหนึ่งของพืชอาทิ ผล ใบ ราก ดอก หรือลำต้น มาประกอบอาหาร หลายบ้านมักจะปลูกผักไว้เพื่อบริโภคภายในครัวเรือน เรียกว่าเป็นผักสวนครัว หรือบางครั้งก็เพื่อเป็นไม้ประดับ ใช้พื้นที่ในการปลูกไม่มาก พืชผักส่วนใหญ่เป็นพืชที่มีอายุสั้นเพียงฤดูเดียว แต่ผักบางชนิดอาจมีอายุมากกว่า 1 ปี หากมีจำนวนมากเหลือจากการบริโภค ก็สามารถนำไปจำหน่ายได้



วีดีโอสื่อการสอนเรื่องผัก



แบบทดสอบระหว่างเรียน
ใบงานที่ 1




เรื่องที่  2  ประโยชน์ของผัก


ประโยชน์ของผักผลไม้ 5 สี

ผักผลไม้สีเขียว
      สีเขียวในผักและผลไม้มาจากเม็ดสีของสารที่มีชื่อว่า คลอโรฟิลด์ (Chlorophyll) โดยจะมีตั้งแต่เขียวเข้มจัด ได้แก่คะน้า สาหร่ายบางชนิด ตำลึง ผักใบเขียวต่างๆ และสีเขียวแบบทั่วไป เช่น แอปเปิ้ลเขียว ฝรั่ง ผักกาด
ซึ่งในผักสีเขียวที่มี คลอโรฟิลด์ (Chlorophyll) นี้ เต็มไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยในการต่อต้านโรคมะเร็ง ทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งสดใส ช่วยยับยั้งการเกิดริ้วรอย นอกจากนี้การทานผักใบเขียวเป็นประจำจะช่วยให้การขับถ่ายดี ลดอากาท้องผูก เนื่องจากผักเหล่านี้มีกากใยสูงมีส่วนช่วยในการลดน้ำหนัก เนื่องจากให้พลังงานต่ำ

ผักผลไม้สีแดง
     สารสีแดงในผักและผลไม้ที่มีสีแดงคือ ไลโคปีน (Cycopene) และ เบตาไซซีน (Betacycin) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ มีส่วนสำคัญในการช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งตามอวัยวะต่างๆในร่างกาย แต่จะเด่นที่สุดคือช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งที่ต่อมลูกหมาก รองลงมาคือมะเร็งปอด และมะเร็งที่กระเพาะอาหาร
นอกจากนี้ ยังมีประโยชน์เรื่องผิวพรรณ ลดการเกิดสิวและทำให้รอยแผลเป็นจางลงได้อีกด้วย ผักและผลไม้ที่อยู่ในกลุ่มสีแดงได้แก่ มะเขือเทศ สตรอเบอร์รี่ บีทรูท เชอรี่ แตงโม เกรพฟรุตสีชมพู ฝรั่งสีชมพู และกระเจี้ยบแดง

ผักผลไม้สีเหลืองและส้ม
      ผักและผลไม้ที่สีเขียวอ่อนและสีเหลืองจะมีสารที่ชื่อว่า ลูทีน (Lutein) อยู่มาก ซึ่งมีประโยชน์โดยตรงกับดวงตา ช่วยป้องกันและชะลอความเสื่อมของจอประสาทตาในผู้ใหญ่ และมีส่วนช่วยในการพัฒนา การมองเห็นในเด็กเล็กได้อีกด้วย
สำหรับผักและผลไม้ที่มีสีส้ม จะมีสารเบต้าแคโรทีน (Betacarotene) ที่ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล,ไขมันในเส้นเลือด ช่วยให้ผิวพรรณสดใส รักษาความชุ่มชื่นให้ผิว ลดความเสื่อมของเซลล์ในร่างกาย ช่วยส่งเสริมและสร้างภูมิคุ้มกัน
ซึ่งผักและผลไม้ที่อยู่ในกลุ่มสีเหลืองและส้มได้แก่ ส้ม แครอท มะละกอ มะนาว สับปะรด ฟักทอง มันเทศ ขนุน เสาวรส และ ข้าวโพด

ผักผลไม้ที่มีสีม่วงและม่วงอมน้ำเงิน
     สีสันแปลกตาเหล่านี้มาจากสารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยทำลายสารที่ทำให้เกิดมะเร็ง ช่วยกระตุ้นการทำงานของเซลล์ต่างๆ ชะลอความเสื่อมถอย ลดอัตราการเกิดโรคหัวใจ ช่วยยับยั้งเชื้ออีโคไลที่ทำให้เกิดอาการอาหารเป็นพิษได้ นอกจากนี้ยังช่วยบำรุงเส้นผมให้เงางามอีกด้วยโดยสารสีม่วงนี้จะพบมากใน มะเขือสีม่วง ลูกแบล็คเบอรี่ บลูเบอรี่ ดอกอัญชัน กะหล่ำปลีที่มีสีม่วง มันเทศสีม่วง และหอมแดง

ผักผลไม้ที่มีสีขาวจนถึงน้ำตาลอ่อน
จะเป็นผักและผลไม้ที่มีสารอาหารที่เรียกว่า แซนโทน (Xanthone) ซึ่งเป็นสารในกลุ่มฟลาโวนอยด์ ช่วยลดอาการอักเสบ ช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือด นอกจากนี้ยังมีสารอื่นๆที่ประกอบด้วย กรดไซแนปติก (Synaptic acid) และ อัลลิซิน (Allicin) โดยสารเหล่านี้มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดไขมันในเลือด ช่วยป้องกันโรคความดันโลหิตและโรคหลอดเลือดหัวใจได้
ผักและผลไม้ที่มีสีขาวจนถึงน้ำตาลอ่อนได้แก่ ขิง ข่า  กระเทียม  กุยช่าย  ขึ้นช่าย เซเลอรี่  เห็ด ลูกเดือย หัวไชเท้า ถั่วเหลือง ดอกกะหล่ำ ถั่วงอก และงาขาว ส่วนผลไม้ก็ได้แก่ กล้วย สาลี่ พุทรา ลางสาด ลองกอง ลิ้นจี่ ละมุด แห้ว เป็นต้น







 แบบทดสอบระหว่างเรียน
ใบงานที่ 2

คำชี้แจง ให้นักเรียนระบายสีภาพที่กำหนดให้นักเรียนระบายสีรูปภาพที่กำหมดให้






เรื่องที่  3  ชนิดของผัก




1) ผักสวนครัว เป็นกลุ่มของพืชผักล้มลุกที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้น มักปลูกตามครัวเรือนหรือแปลงปลูกขนาดใหญ่เพื่อการค้า โดยมีการพัฒนาสายพันธุ์ให้มีผลผลิตตามต้องการ มักพบการผลิตเมล็ดพันธุ์ออกจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ ทั้งนี้ ไม่รวมพืชผักท้องถิ่นหรือผักป่า พืชสมุนไพร และเครื่องเทศ รวมถึงไม้ผลบางชนิด ที่ปัจจุบันอาจพบการพัฒนา และปลูกเพื่อการค้า เช่น ผักกาดขาว กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก ผักชี ผักบุ้ง ผักคะน้า พริก กระเพรา โหระพา แมงลัก ผักกวางตุ้ง กระเทียม ผักหอม หอมหัวใหญ่ หอมแดง แตงกวา ถั่วฝักยาว มะเขือ ได้แก่ มะเขือเปราะ มะเขือพวง มะเขือเทศ หน่อไม้ฝรั่ง ฯลฯ

2) ผักสมุนไพร และเครื่องเทศ เป็นกลุ่มของพืชผักที่สามารถใช้ทั้งในการประกอบอาหาร เพื่อให้อาหารมีสี รสชาติ กลิ่นตามต้องการ รวมถึงการเพิ่มสรรพคุณทางยาของอาหาร มักเป็นพืชที่ให้ กลิ่นแรง มีรสเผ็ดร้อน โดยส่วนมากจะใช้ส่วนผล หัว และรากมาใช้ประโยชน์ และเป็นพืชในท้องถิ่น เช่น ขิง พริกไท ดีปลี กระชาย ข่า ตะไคร้ ขมิ้น ฯลฯ

3) ผักพื้นบ้านหรือผักป่า เป็นกลุ่มของพืชผักที่ขึ้น และเติบโตได้เองตามธรรมชาติหรือนำมาปลูกในครัวเรือน มีการเก็บผลผลิตตามฤดูกาล มักเป็นพืชผักประจำท้องถิ่นที่เป็นทั้งไม้ยืนตัน และพืชล้มลุก เช่นผักหวานป่า หน่อไม้ สะเดา ขี้เหล็ก แคป่า แคบ้าน กระถิน ผักโขมเล็ก ผักโขมหนาม ตำลึง ผักแพว ยอดเหลียง ใบเสี้ยว ผักกูด (ยอดเฟริน์) ผักขาเขียด ผักกระโดน เห็ดเผาะ เห็ดแดง เห็ดโคน และเห็ดป่าต่างๆ ฯลฯ

วีดีโอการสอน  https://www.youtube.com/watch?v=JE_WiDWxTsM




แบบทดสอบระหว่างเรียน
       ใบงานที่ 3





แบบทดสอบหลังเรียน

คำชี้แจง ให้นักเรียน  รูปภาพให้ถูกต้อง
1.ภาพใดต่อไปนี้จัดอยู่ในหมวดของผัก





















2. ภาพใดต่อไปนี้คือแครอท














3.ข้อใดคือภาพของ cucumber














4.อาหารประเภทใดไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย


















5.ข้อใดต่อไปนี้จัดอยู่ในหมวดเดียวกันทั้งหมด



















6.ภาพใดต่อไปนี้คือภาพมะนาว















7.ภาพใดต่อไปนี้คือ ผักชี
















8.ข้อถูกต้อง
1.กินผักในปริมาณมากๆไม่ดีต่อร่างกาย
2..ผักมีประโยชน์ต่อร่างการมนุษย์ผักจะช่วยให้ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์
3.กินผักทำให้ขับถ่ายยาก

9.รับประทานอาหารตามข้อใดทำให้ร่างกายแข็งแรง

















10.ข้อใดคือภาพของ tomato




















       เฉลย
      1.  1
      2.  3
      3.  1
      4.  3
      5.  1
      6.  3
      7.  1
      8.  2
      9.  2
     10.  3



แบบประเมินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ภาคเรียนที่             ปีการศึกษา 

ตอนที่ 1    ข้อมูลทั่วไปของผู้สอน
1.   รหัสวิชา / ชื่อวิชา                                                                     ชั้น                        
2.  แผนการสอนที่................เรื่อง..........................................................................เวลา..........ชั่วโมง
        3.  ชื่อผู้สอน                                                                      วันเดือนปีที่สังเกต.................................
ตอนที่ 2                    การประเมินการเรียนการสอนตามสภาพจริง
                      5  =  ดีเยี่ยม         4  =  ดีมาก              3  =  ดี               2 = พอใช้              1 = ปรับปรุง



    ข้อเสนอแนะ
               ด้านเนื้อหาวิชา..........................................................................................................................................
      .......................................................................................................................................................
               ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ................................................................................................................
     .......................................................................................................................................................
               ด้านการนำความรู้ไปใช้  ..........................................................................................................................
      .....................................................................................................................................................
               ด้านอื่น ๆ (โปรดระบุ)     ........................................................................................................................
      .....................................................................................................................................................
(ลงชื่อ)..............................................................ผู้ประเมิน/สังเกตการณ์สอน
                                                                             (..............................................................)

สิ่งที่ได้ดำเนินการแก้ไข
.................................................................................................................................................................................
.................................................................................................................................................................................
.................................................................................................................................................................................

                                         (ลงชื่อ).................................................ผู้สอน
                                                                                                                        (........................................................)
                                                                                                                       …………./…………………./……….


สรุปและการนำไปใช้

1. นักเรียนได้ความรู้ความเข้าในเรื่อง ผักมากยิ่งขึ้นและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
2.ครูและนักเรียนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม
3.ใช้ในการดำรงชีวิตประจำวันในการเลือกรับประทานผักแต่ละชนิดเพื่อนรู้ถึงคุณประโยชน์ของผัก
4.ใช้ในการจัดกิจกรรมและสื่อการสอนสำหรับเด็กปฐมวัย
5.ครูสรุปการทำกิจกรรมและผลการทำแบบทดสอบ
      ในการจัดการเรียนการสอนเรื่องผักเราสามารถจัดการสอนให้เด็กได้หลายวิธีการเช่น การให้เด็กได้ทดลองปลูกผักเอง ให้เด็กลงมือทำอาหารหรือมีส่วนร่วมในกิจกรรมนั้นๆที่เราสอนอยู่ก็จะทำให้เด็กเกิดความสนใจมากยิ่งขึ้น ทำให้เด็กเกิดความสนุกเพลิดเพลินและอยากมีส่วนร่วม


เอกสารประกอบการเรียน
บทเรียนสำเร็จรูป
สื่อการสอน หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ผักแสนอร่อย
สาระการเรียนรู้ เรื่องราวเกี่ยวกับธรรมชาติ

จัดทำโดย
นางสาวมาลัย  อุ่นถิ่น
นักศึกษาภาคปกติ  ชั้นปีที่ 2  ห้อง 2
รหัสนักศึกษา 61181860202  สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ( ค.บ.5 ปี )

เสนอ
อาจารย์ วสันต์  แปงจิตต์
คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
สื่อการสอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ
รหัสวิชา 1032701
ภาคเรียนที่ 1    ปีการศึกษา 2562




เอกสารอ้างอิง

ผศ.ดร.พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์ (2560). ผักคืออะไร สืบค้นจาก:  http://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/1665/vegetable-ผัก     13 สิงหาคม 2562
ภญ.ดร.นิศารัตน์ ศิริวัฒนเมธานนท์ ( 2561).สืบค้นจาก : http://www.lovefitt.com/healthy-fact/ประโยชน์ของผักและผลไม้-5-สี  13 สิงหาคม 2562

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้